โครงการอบรม โครงการทำดีเพื่อพ่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลักสูตร

หลักการและเหตุผล

          การสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากมนุษย์มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เทคโนโลยีด้านการสื่อสารข้อมูลจึงมีการพัฒนาเติบโตเช่นกัน ระบบการสื่อสารเชิงแสงหรือการสื่อสารข้อมูลด้วยเส้นใยนำแสง เป็นระบบที่มีความสามารถในการรองรับการส่งข้อมูลในปริมาณมหาศาล และตอบสนองความต้องการในการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันระบบสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสงได้ถูกพัฒนาขึ้นและนำไปใช้งานอย่างมากมาย โดยเฉพาะในประเทศไทย โครงข่ายการสื่อสารส่วนใหญ่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงจากระบบการสื่อสารบนสื่อสัญญาณเดิมไปเป็นระบบการสื่อสารที่ใช้เส้นนำแสงเป็นสื่อสัญญาณมากขึ้น เช่น โครงข่ายการสื่อสารข้อมูลผ่านเส้นใยนำแสงความเร็วสูง 100 Gbps การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนเทคโนโลยี FTTx เป็นต้น ดังนั้น การออกแบบระบบสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสงให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ระบบสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสงสามารถนำไปใช้งานได้อย่างประสิทธิภาพนั้น ก็คือ การทดสอบพารามิเตอร์ที่สำคัญต่างๆ ของระบบในช่วงของการติดตั้งระบบ การทดลองใช้งานระบบ และการซ่อมบำรุงรักษาระบบ ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือทดสอบต่างๆ เช่น Light Source OPM OTDR OSA และ CD-PMD Tester มาใช้ในการทดสอบ ประเด็นหนึ่งที่มีปัญหาในการใช้เครื่องมือทดสอบตามที่กล่าวมาคือ ความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้เครื่องมือทดสอบที่ถูกต้องของผู้ปฏิบัติงาน หลักสูตรการอบรม “เรียนรู้ เข้าใจ เครื่องมือทดสอบโครงข่ายเชิงแสง” จึงเป็นหลักสูตรที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องมือทดสอบทางแสงได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ หลักการทำงาน กระบวนการทดสอบ มาตรฐานการทดสอบ และการวิเคราะห์ผลลัพธ์จากเครื่องมือทดสอบทางแสง เพื่อทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำความรู้ ความเข้าใจ ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไป

วัตถุประสงค์

• เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการทำงาน และมาตรฐานการทดสอบของเครื่องมือทดสอบทางแสงเบื้องต้น 

• เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม สามารถใช้งานเครื่องมือทดสอบทางแสงเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง 

•เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม สามารถวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องมือทดสอบทางแสงได้อย่างถูกต้อง 

• เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้งาน 

• เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีการพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ ของตนเองให้ทันต่อการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน

หัวข้อการฝีกอบรม

         ระบบสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสงเบื้องต้น, การสูญเสียสัญญาณในเส้นใยนำแสง (Fiber Loss), การเกิดดิสเพอร์ชั่น (Dispersion) ในเส้นใยนำแสง, การออกแบบระบบเชื่อมต่อเส้นใยนำแสงโดยพิจารณาในส่วนของ Power Budget Consideration และ Dispersion Limited Design, เครื่องมือทดสอบทางแสงเบื้องต้น, หลักการ มาตรฐานการทดสอบค่ากำลังงานและค่าการสูญเสียสัญญาณในเส้นใยนำแสง, หลักการ มาตรฐานการทดสอบค่าดิสเพอร์ชั่นในเส้นใยนำแสง, การทดสอบระบบเส้นใยนำแสงด้วย Optical Spectrum Analyzer (OSA), หลักการ มาตรฐานการทดสอบระบบเส้นใยนำแสงด้วย OTDR

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

    นักศึกษา ช่างเทคนิค วิศวกร ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องงานด้าน Fiber Optic Communication และผู้สนใจทั่วไป ผู้มีความรู้พื้นฐานในระบบสื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐาน

รูปแบบการอบรม

บรรยาย (Lecture)


วันที่รับสมัคร

01/01/2559 - 01/02/2559


ข้อมูลวันที่อบรม

ลำดับ วันที่อบรม สถานที่อบรม เวลาอบรมบรรยาย เวลาอบรมปฏิบัติ
1. 02/02/2559 ห้อง D802 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 6 ชม. -

ค่าใช้จ่าย

- บาท


โปรโมชั่น


รหัสกิจกรรม CPD

-


จำนวนหน่วยพัฒนา CPD

-




ช่องทางอื่นๆ

สิ่งที่น่าสนใจ

เกี่ยวกับเรา

สำนักฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

140 ถนนเชื่อมสัมพันธ์ แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530

โทรศัพท์.
  • 0-2988-3666
  • 092-2464638
E-mail.
  • training@mut.ac.th
  • training.mut@gmail.com