โครงการอบรม ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม รุ่นที่ 3

หลักการและเหตุผล

    การพัฒนาองค์กรเพื่อให้มีความยั่งยืนมั่นคงในการเติบโตอย่างต่อเนื่องได้นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องมีการมุ่งเน้นการสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่เปรียบเสมือนเป็นการเสริมสร้างทางการพัฒนาให้องค์กรมีบุคลากรที่มีทักษะทางการคิดและการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น การฝึกคนในองค์กรให้มีความคิดเชิงสร้างสรรค์และสรรหานวัตกรรมใหม่ ถือได้ว่าเป็นกุญแจไขไปสู่การปรับปรุงและพัฒนางานอย่างเป็นระบบถือเป็นกระบวนการที่สำคัญรองรับการพัฒนาองค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งหลักสูตรนี้จะช่วยให้คุณได้ฝึกฝนทักษะต่างๆเหล่านั้น โดยเน้นการฝึกคิดออกจากกรอบประสบการณ์เดิมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง ก่อให้เกิดผลงานและกระบวนการทำงานแนวใหม่ให้สามารถจัดการกับความคิดได้อย่างมีระบบ มีแบบแผนทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพในทุกๆด้านในที่สุด

วัตถุประสงค์

1. สามารถคิดและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ได้อย่างเป็นระบบ 

2. สามารถนำเทคนิคการคิดเชิงนวัตกรรม ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

3. สามารถสร้างทัศนคติที่ดีและปลูกจิตสำนึกในการคิดเชิงนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพต่อตนเองและองค์กรได้อย่างยั่งยืน

หัวข้อการฝีกอบรม

Module 1: Model & Thinking Skill Concept  

- ความหมายและแนวคิดที่สำคัญของการคิดเชิงนวัตกรรม 

- กระบวนทัศน์ในเชิงนวัตกรรมของแต่ละยุคธุรกิจ

- โมเดลทักษะการค้นพบเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม (5 ทักษะ)

   (ตั้งคำถาม, สำรวจ, เปิดมุมมอง, ทดลอง และ เชื่อมโยงความคิด)

- พื้นฐานมิติความคิดสร้างสรรค์ที่จะต่อยอดไปสู่กรอบแนวคิดในเชิงนวัตกรรม

   *Creative Thinking (ความคิดสร้างสรรค์)

   *Paradigm Concept & Shift (กรอบแนวความคิดและการเลื่อนกรอบ)

   *Workshop: การเลื่อนกรอบแนวความคิด (Creative Thinking – Case)

    Output: การเลื่อน Paradigm ในเชิงความคิดสร้างสรรค์ ที่ทำให้เกิดนวัตกรรม


Module 2: Learning in Action - Part 1

- เจาะลึกทักษะการค้นพบเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทั้ง 5 ทักษะ 

- ทักษะที่ 1: ตั้งคำถาม --> การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytic Thinking)

   *แนวคิดและเทคนิคสำคัญในการคิดเชิงวิเคราะห์

   *เคล็ดลับการพัฒนาทักษะการตั้งคำถาม

   *Workshop:  การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytic Thinking)

- ทักษะที่ 2: สำรวจ --> การคิดรอบมุม (Inductive Thinking)

   *แนวคิดและเทคนิคสำคัญในการคิดรอบมุม (Spider Web)

   *เคล็ดลับการพัฒนาทักษะการสำรวจ

   *Workshop:  การคิดรอบมุม (Industry Roundabouts) 

    Output: การเลื่อน Paradigm ในเชิงคิดวิเคราะห์และคิดรอบมุม เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม


Module 3: Learning in Action - Part 2

- ทักษะที่ 3: เปิดมุมมอง --> การคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

   *คุณลักษณะและพฤติกรรมการตอบสนองแบบ Proactive

   *เคล็ดลับการพัฒนาทักษะการเปิดมุมมอง

   *Workshop:  ฝึกคิดมองบวกที่ซ่อนอยู่ในด้านลบ (Negative Review)

- ทักษะที่ 4: ทดลอง --> การคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking)  

   *แนวคิดและเทคนิคสำคัญในการคิดเชิงวิพากย์

   *เคล็ดลับการพัฒนาทักษะการทดลอง

   *Workshop:  ฝึกคิดในเชิงวิพากย์ (Critical Thinking)

     Output: การเลื่อน Paradigm ในเชิงคิดเชิงบวกและคิดเชิงวิพากย์ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม


Module 4: Learning in Action – Part 3

- ทักษะที่ 5: เชื่อมโยงความคิด --> การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthetic Thinking)

   *แนวคิดและเทคนิคสำคัญในการคิดเชิงสังเคราะห์

   *เคล็ดลับการพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงความคิด

   *Workshop:  ฝึกคิดในเชิงสังเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation) 

      - สรุปทบทวนกระบวนการคิดเชิงนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ในเชิงกลยุทธ์

       - ถาม-ตอบ

      Output: การเลื่อน Paradigm ทั้งระบบที่เชื่อมโยงเข้าสู่ระบบการคิดเชิงนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

ผู้มีหน้าที่และเกี่ยวข้องกับการใช้ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ในหลายๆหน่วยงานในองค์กร และผู้บังคับบัญชาทุกระดับ และผู้สนใจทั่วไป

รูปแบบการอบรม

บรรยาย (Lecture)


วันที่รับสมัคร

01/01/2560 - 13/10/2560


ข้อมูลวันที่อบรม

ลำดับ วันที่อบรม สถานที่อบรม เวลาอบรมบรรยาย เวลาอบรมปฏิบัติ
1. 25/10/2560 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 6 ชม. -

ค่าใช้จ่าย

3,500.00 บาท


โปรโมชั่น

1.สมัครอบรม 3 ท่าน ฟรี 1 ท่าน
2.ชำระค่าลงทะเบียนก่อนการอบรม 3 สัปดาห์ ลด 5%
3.ศิษย์เก่า นักศึกษาและบุคลากร รับส่วนลด 10%


รหัสกิจกรรม CPD

103-00-4003-00/6010-xxx


จำนวนหน่วยพัฒนา CPD

9


วิทยากร

1. - สุกิจ ตรียุทธวัฒนา



ช่องทางอื่นๆ

สิ่งที่น่าสนใจ

เกี่ยวกับเรา

สำนักฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

140 ถนนเชื่อมสัมพันธ์ แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530

โทรศัพท์.
  • 0-2988-3666
  • 092-2464638
E-mail.
  • training@mut.ac.th
  • training.mut@gmail.com