โครงการอบรม โครงการความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก หลักสูตร“การสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยระบบการผลิตแบบลีน” ให้กับ บริษัท สยามไดล์ จำกัด

หลักการและเหตุผล

        นโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีส่วนสำคัญในการผลักดันประเทศเข้าสู่ยุคดิจิตอล และในงานด้านอุตสาหกรรม นโยบาย อุตสาหกรรม 4.0 ถือเป็นวิสัยทัศน์ในการก้าวข้ามกับดัก ประเทศผู้รับจ้างผลิตด้วยต้นทุนแรงงานราคาถูก ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต มาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า จุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือสามารถเชื่อมความต้องการของผู้บริโภคแต่ละรายเข้ากับกระบวนการผลิตสินค้าได้โดยตรง อาจเปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นคือ โรงงานอุตสาหกรรมในยุค 3.0 สามารถผลิตของแบบเดียวกันจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว แต่โรงงานยุค 4.0 จะสามารถผลิตของหลากหลายรูปแบบแตกต่างกัน (ตามความต้องการเฉพาะของผู้บริโภคแต่ละราย) เป็นจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็วเช่นกัน โดยใช้กระบวนการผลิตที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลครบวงจรแบบ “Smart Factory”
       ระบบการผลิตแบบลีน เป็นการผลิตที่มุ่งเน้นการลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น ผ่านชุดเครื่องมือต่างๆ ได้แก่ การลดความสูญเปล่า การลดปัญหาคอขวด การจัดสมดุลสายการผลิต การผลิตแบบ U-Cell  การเขียนแผนภาพสายธารคุณค่า การใช้ Poka Yoke และ ระบบ Automation การปรับเรียบการผลิต แนวคิดของSupermarket ตลอดจนการแบ่งปันข้อมูลระหว่างแผนกที่อยู่ในบริษัท โดยหลักการผลิตแบบลีนนี้ ได้ผ่านการพัฒนากระบวนการเพื่อเพิ่มคุณค่าให้แก่กระบวนการ เพิ่มการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และ ยืดหยุ่นเพียงพอต่อเปลี่ยนรุ่นสินค้าในเวลาที่รวดเร็ว (Agility) ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้าได้มากขึ้น

วัตถุประสงค์

  1. เข้าใจหลักการของระบบการผลิตแบบลีน และ ความสำคัญของการลดความสูญเปล่า 
  2. มีความรู้ และ ความเข้าใจแนวทางการใช้ชุดเครื่องมือต่างๆในระบบการผลิตแบบลีน 
  3. นำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของตนเองตามแนวทางของระบบการผลิตแบบลีนได้ 
  4. ประยุกต์ใช้ทักษะต่างๆที่จำเป็นเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร และพร้อมเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0

หัวข้อการฝีกอบรม

• ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด และความสำคัญของระบบการผลิตแบบลีน
• เครื่องมือที่เกี่ยวกับ ระบบการผลิตแบบลีน
      - การกำจัดความสูญเปล่า (3M: Mura Muri Muda) ในกระบวนการทำงาน 
      - การใช้ Poka Yoke และ ระบบ Autonomation
      - ปัญหาคอขวด และผลกระทบในกระบวนการ
      - การไหลแบบ Batch VS การไหลแบบ one piece flow 
      - เวลาดึงจากลูกค้า (Takt time) และ การจัดสมดุลสายการผลิต
      - การผลิตแบบ U-Cell 
      - แนวคิดของ Supermarket 
• การเขียนแผนภาพสายธารคุณค่า Value Stream Mapping: VSM
      - Current State VSM
      -  Future State VSM
• การแบ่งปันข้อมูลระหว่างแผนกที่อยู่ในบริษัทโดยใช้บัตรคัมบัง

• ระดับการปรับปรุงเพื่อมุ่งสู่ความเป็นลีน

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

-

รูปแบบการอบรม

บรรยาย (Lecture)


วันที่รับสมัคร

03/12/2561 - 03/12/2561


ข้อมูลวันที่อบรม

ลำดับ วันที่อบรม สถานที่อบรม เวลาอบรมบรรยาย เวลาอบรมปฏิบัติ
1. 03/12/2561 บริษัท สยามไดล์ จำกัด 6 ชม. -

ค่าใช้จ่าย

- บาท


โปรโมชั่น


รหัสกิจกรรม CPD

-


จำนวนหน่วยพัฒนา CPD

-




ช่องทางอื่นๆ

สิ่งที่น่าสนใจ

เกี่ยวกับเรา

สำนักฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

140 ถนนเชื่อมสัมพันธ์ แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530

โทรศัพท์.
  • 0-2988-3666
  • 092-2464638
E-mail.
  • training@mut.ac.th
  • training.mut@gmail.com